การปิดกิจการและสิ่งสืบเนื่อง ของ สกาลา (โรงภาพยนตร์)

สกาลาในเดือนกรกฎาคม 2564 สี่เดือนก่อนที่จะถูกรื้อถอน

สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความพยายามพัฒนาพื้นที่สยามสแควร์ ซึ่งรวมถึงความเป็นไปได้ในการรื้อถอนโรงภาพยนตร์ลิโด้และสกาลา ตั้งแต่ พ.ศ. 2555[13] แต่ถูกคัดค้านจากภาคประชาสังคม[14][15] ทั้งนี้ ผู้บริหารของเครือเอเพ็กซ์ขอขยายสัญญาเช่าในปี พ.ศ. 2557[16] และสำนักงานจัดการทรัพย์สินฯ ขยายสัญญาเช่าพื้นที่ดังกล่าวในอีกสามปีถัดมา[17] แต่ที่สุดสกาลาก็ปิดกิจการในปี พ.ศ. 2563 จากภาวะการระบาดของโควิด-19 และหมดสัญญาเช่าในช่วงเวลาดังกล่าวพอดี

ในวันสุดท้ายของสกาลา มีการฉายภาพยนตร์สี่เรื่องที่คัดสรรโดยหอภาพยนตร์ รวมผลงานคลาสสิกของอิตาลี 2 รายการ ได้แก่ ผลงานของ มีเกลันเจโล อันโตนีโอนี เรื่อง Blowup ในช่วงเที่ยง ตามมาด้วยสารคดีไทยเรื่อง The Scala [12] และ Phantom of Illumination [18] ที่อุทิศแก่กิจการโรงภาพยนตร์เดี่ยว ในเวลา 15.00 น. และ Cinema Paradiso ของ Antonioni ซึ่งเป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของสกาลา ในเวลา 18.00 น. [1] ในปีต่อมามีการรื้อถอนอาคารในหมุดเอของสยามสแควร์ทั้งหมด ซึ่งรวมถึงโรงภาพยนตร์สกาลาด้วย ทั้งนี้ เซ็นทรัลพัฒนาได้รับสิทธิ์ในการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว[19][20]

อนึ่ง ก่อนที่โรงภาพยนตร์สกาลาจะถูกรื้อถอน ทายาทเครือเอเพ็กซ์ได้นำของตกแต่งจากอาคารดังกล่าวไปใช้ที่โรงละครในสวนนงนุช[21] และได้ตั้งชื่อโรงละครนี้ตามอาคารที่ถูกรื้อถอนดังกล่าว[22]

แหล่งที่มา

WikiPedia: สกาลา (โรงภาพยนตร์) https://coconuts.co/bangkok/lifestyle/so-long-scal... https://thailand-construction.com/bangkoks-histori... https://www.bangkokpost.com/life/arts-and-entertai... https://www.bangkokpost.com/life/arts-and-entertai... https://www.bangkokpost.com/life/arts-and-entertai... https://www.bangkokpost.com/life/arts-and-entertai... https://www.bangkok101.com/scalas-got-soul/ https://www.khaosodenglish.com/life/arts/2020/07/0... https://www.khaosodenglish.com/life/arts/2017/08/1... https://www.khaosodenglish.com/life/2019/08/09/ins...